วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สินค้าส่งออก

เครื่องประดับเงินและหินสีมีตลาดส่งออกเป็นหลัก
        ตลาดเครื่องประดับบนถนนเจริญกรุงจับกลุ่มลูกค้าที่เป็นนักธุรกิจชาวต่างชาติเป็นหลัก ซึ่งสินค้าที่นี่มีจุดแข็งตรงดีไซน์และมีราคาแพงกว่าสินค้าบนถนนข้าวสาร   ที่เป็นเช่นนี้เพราะเครื่องประดับเงินที่ประดับด้วยหินสวยนั้นมีราคาถูกกว่าเครื่องประดับของแท้หลายเท่าตัว แต่มีความสวยงามไม่แตกต่างกัน รวมถึงมีความเชื่อที่ว่าการใส่หินสวยงามอาจจะช่วยให้คนใส่หายจากโรคต่างๆ ได้ แม้ว่าจะเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยและจากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำจึงไม่ส่งผลต่อยอดขายธุรกิจนี้มากนัก มีพ่อค้าเดินทางมาสั่งซื้อสินค้าเพื่อนำไปขายในช่วงเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่     
  
      สินค้าเครื่องประดับของไวด์กรุ๊ปดีไซน์ในรูปทรงที่เอาใจลูกค้าต่างประเทศเป็นหลัก เป็นเพราะการขายสินค้าให้กับนักธุรกิจต่างชาติมีความคล่องตัวกว่าในแง่ของการชำระเงิน ความซื่อตรงระหว่างกัน สำหรับแบบสินค้านั้นจะตามเทรนด์แฟชั่นจากยุโรป รวมถึงมีการดัดแปลงแบบสินค้าจากหนังสือที่รวมแบบต่างๆ ของเครื่องประดับ รวมทั้งมีการดีไซน์สินค้าเองเพื่อสร้างเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ
       ลูกค้าในแต่ละประเทศมีความนิยมสไตล์สินค้าที่แตกต่างกัน เครื่องประดับที่ใช้หินขนาดเล็ก ราคาไม่แพงมาก ส่วนลูกค้าจากประเทศญี่ปุ่นจะชอบสินค้าที่มีลักษณะเป็นแฮนด์เมดมากกว่า สำหรับราคาเครื่องประดับของไวด์กรุ๊ปจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักของเงินและขนาดของหินสวยงาม โดยวัตถุดิบอาทิ อำพันนำเข้ามาจากรัสเซีย และหินสีนำเข้ามาจากออสเตรเลีย และอัฟริกาเป็นต้น


แหล่งที่มา  http://www.arip.co.th/businessnews.php?id=402472

SWOT ส่งออกเครื่องประดับเงิน และหินสี
Strength
    - มีดีไซน์ที่ทันสมัย
    - ราคาถูกกว่าเครื่องประดับของแท้หลายเท่าตัว
    - มีรูปทรงดีไซน์ที่เอาใจลูกค้าเป็นหลัก
    - มีการทำตามเทรนด์แฟชั่นจากยุโรป รวมถึงการดัดแปลงสินค้า
    - มีการดีไซน์ตามแบบเอกลักษณ์เฉพาะ
    - จะใช้หินที่สวยงาม หรือพลอยคนละชนิดกัน

Weakness
    - มีการดีไซน์ที่ไม่แตกต่างกันมากนัก
    - ยังขาดนักออกแบบดีไซน์ที่เป็นมืออาชีพ
Opportunity
    - ความเชื่อของผู้ที่ส่วมใส่ที่สามารถช่วยให้หายจากโรคภัยต่างๆจึงเป็นที่นิยมใส่กัน
    - การทำเครื่องประดับเป็นชิ้นเล็กๆเป็นความนิยมของคนชาติตะวันตก
    - กลุ่มลูกค้าต่างประเทศมีความต้องการที่จะนำไปจำหน่ายในช่วงเทศกาล
Threat
    - เป็นสินค้าที่ฟุ่มเฟือยจากภาวะเศษฐกิจที่ตกต่ำ
    - มีบริษัทผลิตเครื่องประดับเงินอื่นที่เป็นคู่แข่งขัน

วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประเทศอังกฤษ

ภูมิอากาศและฤดูกาลของประเทศอังกฤษ

      สภาพภูมิอากาศโดยทั่วไปจัดอยู่ในประเภทค่อนข้างหนาวและมีความชื้นสูง เนื่องจากมีสภาพภูมิประเทศเป็นเกาะ มีกระแสน้ำอุ่นและน้ำเย็นไหลผ่าน โดยทางตอนเหนือจะหนาวมากกว่าทางตอนใต้ และจะมีฝนตกทางภาคตะวันตกมากกว่าทางภาคตะวันออก อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดในช่วงฤดูหนาวคือ 2-4 องศาเซลเซียส และสูงสุดในช่วงฤดูร้อนคือ 18-22 องศาเซลเซียส 

       ประเทศสหราชอาณาจักรมี ฤดูกาลทั้งหมด 4 ฤดูคือ
ฤดูใบไม้ผลิ : เดือนมีนาคม-พฤษภาคม
ฤดูร้อน : เดือนมิถุนายน-สิงหาคม
ฤดูใบไม้ร่วง : เดือนกันยายน-พฤศจิกายน
ฤดูหนาว : เดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์

แหล่งที่มา  http://vacationblog.212cafe.com/category/673/      

วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความแตกต่างระหว่างการตลาดระหว่างประเทศกับการค้าระหว่างปะเทศ

                 การตลาดระหว่างประเทศ คือ การทำธุรกิจค้าขายอันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและนำเสนอคุณค่าที่อยู่ในรูปของสินค้าและบริการให้กับลูกค้าข้ามพรมแดนทางรัฐศาสตร์จากประเทศหนึ่งสู่ตลาดระหว่างประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อการหาตลาดใหม่ เพื่อแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดหรือเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ในตลาดระหว่างประเทศ โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงคือ ธุรกิจต้องการรายได้ที่เป็นเงินจากลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ
                การตลาดระหว่างประเทศจึงเป็นเรื่องที่ซับซ้อนกว่าการตลาดภายในประเทศเป็นอย่างมาก ดังนั้นธุรกิจจะประสบความสำเร็จในตลาดระหว่างประเทศได้นั้น การตลาดระหว่างประเทศไม่ใช่เพียงแค่การขนส่งสินค้าข้ามพรมแดน การตลาดระหว่างประเทศไม่ใช่แค่การดำเนินการทางการตลาดโดยใช้หลักการตลาดพื้นฐานทั่วไป ที่ธุรกิจเคยใช้มาในตลาดภายในประเทศแล้วประสบความสำเร็จ เช่น การใช่ส่วนประสมทางการตลาด (Product, Price, Place and Promotion) ซึ่งกลยุทธ์เหล่านี้อาจจะไม่เพียงพอที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จในตลาดระหว่างประเทศ บางตลาดเลยก็เป็นได้ เนื่องจากตลาดภายในประเทศกับตลาดระหว่างประเทศจะมีความแตกต่างของปัจจัยต่างๆ อยู่เป็นอย่างมาก ดังนั้นสิ่งที่นักการตลาดระหว่างประเทศต้องระลึกถึงเสมอก็คือ วิธีที่จะสร้างความสำเร็จทางการตลาดทั้งตลาดภายในประเทศรวมถึงตลาดระหว่างประเทศนั้น นักการตลาดต้องค้นหาวิธีที่จะทำให้ธุรกิจสามารถสร้างความพึงพอใจให้ตลาดหรือธุรกิจต้องค้นหาวิธีที่จะสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ธุรกิจจึงจะพบกับความสำเร็จทางการตลาด
แหล่งที่มาของข้อมูล        

www1.webng.com/logisticseminar/


          การค้าระหว่างประเทศ หมายถึง การซื้อขายสินค้าและบริการระหว่างประเทศต่างๆ ประเทศที่ทำการซื้อขายสินค้าระหว่างกัน เรียกว่า "ประเทศคู่ค้า" สินค้าที่แต่ละประเทศซื้อเรียกว่า "สินค้าเข้า" (imports) และสินค้าที่แต่ละประเทศขายไปเรียกว่า "สินค้าออก" (exports) ประเทศที่ซื้อสินค้าจากต่างประเทศ เรียกว่า 
"ประเทศผู้นำเข้า" ส่วนประเทศที่ขายสินค้าให้ต่าง ประเทศ เรียกว่า "ประเทศผู้ส่งสินค้าออก" โดยทั่วไปแล้ว แต่ละประเทศจะมีฐานะเป็นทั้งประเทศ ผู้นำสินค้าเข้า และ ประเทศผู้สินค้าออกในเวลาเดียวกัน เพราะประเทศต่างๆ มีการผลิตสินค้าแตกต่างกัน เช่น ประเทศไทยส่ง สาเหตุที่มีการค้าระหว่างประเทศ เหตุผลทางเศรษฐกิจที่ทำให้ประเทศต่างๆในโลกทำการค้าขายกันที่สำคัญ
มีอยู่ด้วยกัน 2 ประการ คือ
  1. ความแตกต่างทางด้านทรัพยากรที่ใช้ผลิตในแต่ละประเทศ เนื่องมาจากความแตกต่างในเรื่องสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ เช่น ประเทศ ไทยมีพื้นดินที่อุดมสมบูรณ์เหมาะสมแก่การเพาะปลูกมากกว่าญี่ปุ่น คูเวตมีน้ำมันมากกว่าไทย จีนมีประชากรมากกว่าประเทศอื่นๆ ดังนั้น ประเทศใดที่มีทรัพยากรชนิดใดมาก ก็จะผลิตสินค้าที่ใช้ทรัพยากรชนิดนั้นๆเป็นปัจจัยการผลิตสินค้าออกเพื่อแลกเปลี่ยน กับสินค้าอื่น
  2. ความแตกต่างในเรื่องความชำนาญในการผลิต เนื่องจากผู้ผลิตของแต่ละประเทศจะมีความชำนาญและเทคโนโลยีในการผลิตสินค้าและ บริการแตกต่างกัน บางประเทศผู้ผลิตมีความรู้ความชำนาญเป็นพิเศษในการผลิตสินค้า บางชนิด เช่น ประเทศญี่ปุ่นมีความรู้ความชำนาญในการผลิตเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ ประเทศเนเธอร์แลนด์มีความรู้ความชำนาญในการผลิตเครื่องจักรกลการเกษตร ประเทศสวิตเซอร์แลนด์มีความรู้ความชำนาญในการผลิตนาฬิกา ความแตกต่างของ ปัจจัยดังกล่าวนี้ผลักดันให้แต่ละประเทศเล็งเห็นประโยชน์จากการเลือกผลิตสินค้าบาง อย่างที่มีต้นทุนต่ำ มีความรู้ความชำนาญ และเลือกสั่งซื้อสินค้าแตะละประเภทที่ผู้บริโภค ในประเทศของตนต้องการแต่ไม่สามารถผลิตได้ หรือผลิตได้ในต้นทุนที่สูงเกินไป และปัจจัยเหล่านี้ก้อให้เกิดการค้าระหว่างประเทศเกิดขึ้น
 
แหล่งที่มาข้อมูล
http://megaclever.blogspot.com/2008/07/blog-post_8307.html


ความแตกต่างระหว่างการตลาดระหว่างประเทศกับ
การค้าระหว่างประเทศ
         การตลาดระหว่างประเทศ คือธุรกิจจะทำการผสมผสานกิจกรรมทางการตลาดกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพให้สามารถเข้ากับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในตลาดระดับโลกได้อย่างกลมกลืน มีประสิทธิภาพและสามารถสร้างความได้เปรียบทางการตลาด
โดยการศึกษาและสำรวจถึงความต้องการและความพึงพอใจของกลุ่มตลาดเป้าหมายของตลาดประเทศที่ธุรกิจจะทำการตลาดเพื่อที่จะตอบสนองได้ตรงความต้องการของตลาดแต่ละประเทศ
                แต่ในส่วนของการค้าระหว่างประเทศจะมุ่งเน้นที่การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากันระหว่างประเทศต่าง กันซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากแต่ละประเทศมีทรัพยากรไม่เหมือนกัน ประเทศหนึ่งผลิตสินค้าชนิดหนึ่ง แต่ผลิตอีกชนิดหนึ่งไม่ได้จึงจำเป็นต้องนำสินค้าอีกประเทศหนึ่งที่ตนผลิตได้ไปแลกเปลี่ยนกับอีกประเทศหนึ่ง

วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การนำเสนอสินค้า

การนำเสนอสินค้า

 





          ในขั้นตอนแรก คือการเลือกสินค้าที่จะนำมาเสนอ โดยมากแล้วสินค้าที่นำมาเสนอให้ลูกค้าชมนั้นมักจะเป็นนวัตกรรมใหม่ๆ หรือสินค้าที่ได้ปรับปรุงหลักการทำงานให้ทำได้ดีกว่าวิธีการเดิมๆ สหหรับขั้นตอนในการนำเสนอสินค้าเริ่มจาก


1. การสะกดลูกค้า แกนหลักในขั้นตอนการสาธิตสินค้านั้น ขั้นแรกคือวิธีการนำเสนอนั้นต้องสามารถสะกดให้ลูกค้าหยุดชมให้ได้ ต้องสามารถทำให้ลุกค้าสนใจ และดึงดูดทำให้ลูกค้าเกิดความอยากรู้อยากเห็นและต้องการติดตาม ผู้สาธิตต้อง


มีเทคนิคการนำเสนอเริ่มจากการแจกแจกสมนาคุณให้กับลูกค้า ไปจนถึงนวัตกรรมใหม่ๆ


2. ประเด็นปัญหา การชี้ให้ผู้ชมเห็นปัญหาซึ่งวิธีการชี้ประเด็นปัญหานั้น อาจทำได้หลายรูปแบบ เช่น ในกรณีที่ผู้ผลิตคิดค้นสินค้าที่ใช้แก้ปัญหาที่จุกจิกกวนใจคุณแม่บ้าน หรือคุณพ่อบ้านทั้งหลาย รายการสาธิตสินค้าเหล่านี้ก็เริ่มเสนอประเด็นปัญหาที่ค้างคาใจก่อนทันที เช่น การเสนอประเด็นปัญหาเรื่องการรีดผ้า ความนุ่มของผ้า


การชี้ประเด็นปัญหาแบบนี้นอกจากสามารถทำให้ผู้ชมติดตามชมรายการได้อย่งได้ผลแล้วทำให้ลูกค้าตระหนักถึงปัญหาที่รายการชี้ประเด็นไว้ แม้ว่าหลายครั้งปัญหาเหล่านั้นอาจจะไม่ได้เป็นปัญหาที่ใหญ่โตอะไร แต่หลังจากได้ดูการสาธิตสินค้าก็ทำให้หลายคนรีบหันมาใส่ใจกับสิ่งที่ตัวเองไม่เคยคิดว่าเป็นปัญหาใหญ่มาก่อน


3. ทางแก้ปัญหา เรียกกันได้ว่าสร้างอารมณ์กระวนกระวายจนถึงขีดสุดแล้ว สิ่งต่อไปที่จะสาธิตสินค้านำมาเสนอก็คือวิธีการแก้ปัญหา โดยการสาธิตให้เห็นว่าสินค้าที่ท่านจะได้เป็นเจ้าของนั้นมีคุณสมบัติที่ดีเหนือกว่า และแก้ปัญหาที่เกิดจากสินค้าแบบเดิมๆ มักจะนำเสนอการสาธิตสินค้าในหลากหลายรูปแบบนอกจากนี้ยังเพิ่มความมั่นใจและไว้เนื้อเชื่อใจในกลุ่มของผู้รับชมการสาธิตสินค้าให้มากขึ้น จึงต้องมีเทคนิคอื่นๆมาใช้ร่วมด้วย


4. ปิดการขาย หลังจากชี้ประเด็นปัญหาโชว์ความสามารถและประสิทธิภาพของสินค้าไปเรียบร้อยแล้ว ส่วนจะเสนอขายสินค้าเท่าไรนั้นขึ้นอยู่กับเทคนิคการตั้งราคาและการเสนอราคาเป็นสำคัญ เทคนิคที่มักใช้กัน คือการสร้างราคาให้ดูเหมือนราคาลดพิเศษ


5. การรับประกัน ประเด็นสำคัญอีกประการหนึ่งที่มักจำทำให้ผู้ชมรายการไม่กล้าตัดสินใจในทันทีก็เพระกลัวว่าจะได้สินค้าที่ไม่ดี ได้สินค้าที่ชำรุด มีตำหนิ หรือเป็นสินค้าเก่า การรับประกันจึงมีบทบทาในการที่จะทำให้ผู้สั่งซื้อสินค้านั้นไม่รู้สึกเสี่ยง ทำให้ผู้ชมการสาธิตมีความรู้สึกว่าไม่ถูกหลอก มีทางเลือกมากขึ้นถ้าไม่พอใจก็สามารถคืนสินค้าได้



ที่มา http://www.brandage.com/Modules/DesktopModules/Article/ArticleDetail.aspx?tabID=2&ArticleID=2703&ModuleID=21&GroupID=864